หน้าปกบทความ_ecommerce_กับ_marketplace_ต่างกันอย่างไร

eCommerce กับ Marketplace ต่างกันอย่างไร ?

eCommerce คืออะไร ?

ecommerce

     ย่อมาจากคำว่า Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นการดำเนินการทางธุรกิจที่ผู้ขายสินค้าเป็นผู้ขายเพียงรายเดียวให้กับ ผู้ซื้อหลายรายที่เกิดขึ้นบนโลก Internet ซึ่งผู้ขายสามารถขายสินค้าหรือ โฆษณาสินค้าได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ เสียง หรือ วีดีโอ

      การทำ อีคอมเมิร์ส ช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อผู้ขายมากมาย เช่น ลดค่าใช้จ่ายในการหาที่ตั้งของร้าน, ห้องเก็บสินค้า, ห้องแสดงสินค้า รวมไปถึงพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง

      เว็บไซต์ อีคอมเมิร์ส เป็นของผู้ขายสินค้า ดังนั้นการตั้งค่า ตรวจสอบ และการดูแลระบบต่าง ๆ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ขายเช่นกัน เพื่อให้เว็บไซต์มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันการดูแลในส่วนนี้ไม่ใช่เรื่องยากอีกแล้ว ผู้ขายไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเป็นก็สามารถดูแลเว็บไซต์ได้เช่นกัน เนื่องจากมี platform มากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำเว็บไซต์ อีคอมเมิร์ส เช่น Woocommerce , Magento เป็นต้น

      คือ platform ที่เป็นเสมือนตัวกลางในการค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ เพื่อช่วยให้ผู้ขายสามารถมารวมตัวกัน เพื่อลงขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่างๆ หลากหลายยี่ห้อ ต่อลูกค้าที่เข้ามาหาสินค้า โดยเจ้าของ platform มีหน้าที่ในหารนำพาทั้งผู้ขายที่เหมาะสม มีความน่าเชื่อถือ และลูกค้าที่มีความเหมาะสม และ มีความต้องการในสินค้าแต่ละแบบ มารวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนการขายผ่านแพลตฟอร์มที่หลากหลาย โดยเจ้าของ platform จะได้รับค่าคอมมิชชันจากการขายแต่ละครั้ง และมุ่งเน้นไปที่การโปรโมตแบรนด์ marketplace ของพวกเขาเป็นหลัก เพื่อเพิ่มปริมาณผู้เข้าชม platform รวมถึงดึงดูดให้ผู้ขายเข้ามาขายสินค้าใน platform และ ลูกค้าที่กำลังมองหาซื้อสินค้า

Marketplace with eCommerce

ประเภทของ eCommerce

1.Business to consumer (B2C)

      การทำธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปแบบของ สินค้า หรือ service ต่างๆ โดยตรงให้กับผู้ซื้อ เช่น การซื้อขายสินค้าเวชสำอาง การดูหนังในโรงหนังที่จ่ายค่าเข้าชมต่อรอบ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วการขายรูปแบบนี้จะเป็นการซื้อขายระหว่างผู้ค้าปลีกออนไลน์ กับ ผู้บริโภค ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

2.Business to business (B2B)

      เป็นรูปแบบการทำการซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการด้วยกันเอง เช่น การซื้อขายระหว่างผู้ผลิตกับผู้ค้าส่ง หรือ ผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก การทำธุรกิจรูปแบบนี้จะมีรอบการขายผู้ซื้อที่นานขึ้น เนื่องจากมูลค่าและปริมาณในการสั่งซื้อสูงและมีการซื้อซ้ำเกิดมากขึ้น

3.Business to Government (B2G) หรือ Business to Administration (B2A)

      เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการค้าที่เน้นไปยังกลุ่มลูกค้าที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐ โดยการทำธุรกิจรูปแบบนี้จะเริ่มจากการที่ภาครัฐเปิดให้มีการประกวดราคาตามคำร้องขอของภาครัฐ โดยธุรกิจต่าง ๆ  ที่สนใจจะต้องมีการยื่นข้อเสนอ ข้อมูลของสินค้า ยื่นใบเสนอราคาสินค้า และ ข้อมูลอื่นๆ มายังทางภาครัฐ ซึ่งหากทางภาครัฐสนใจข้อเสนอเหล่านั้นก็จะมีการทำสัญญากันต่อไป โดยทั่วไปแล้วการทำสัญญากับหน่วยงานภาครัฐ จะเป็นสัญญาซื้อขายแบบล่วงหน้า ซึ่งจะมีการตรวจสอบทั้งส่วนผู้ขายเอง และ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามที่มีการตกลงกันไว้

4.Consumer-to-Consumer (C2C)

      เป็นรูปแบบธุรกิจลูกค้า (customer) สามารถซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้ โดยมีบริษัทภายนอก (third-party) เช่น Shopee , Lazada , eBay เป็นต้น มาช่วยอำนวยความสะดวกให้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบการขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ ในปัจจุบันการค้าขายแบบนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

5.Consumer-to-Business (C2B)

      C2B เป็นรูปแบบธุรกิจที่ตรงกันข้ามกับ B2C กล่าวคือเป็นรูปแบบธุรกิจที่ลูกค้า สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ หรือ service ให้แก่ธุรกิจที่สนใจ โดยค่าตอบแทนที่จะได้กลับมายังลูกค้าจะอยู่ในรูปแบบของค่าตอบแทนที่เป็นเงิน หรือ ผลประโยชน์อื่น ๆ  ตามการเจรจาข้อตกลงตามเงื่อนไขของตนเอง ในปัจจุบันการพัฒนาของอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียมากมายบนโลก ช่วยให้ C2B เชื่อมโยงเข้าหาลูกค้าได้กว้างขวาง และ ง่ายยิ่งขึ้น

6.Consumer-to-Administration (C2A)

      โมเดลรูปแบบนี้เป็น อีคอมเมิร์ส ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล กับ หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานท้องถิ่น ด้วยวิธีการติดต่อผ่านทางเว็บไซต์ หรือ ช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นธุรกรรมที่เกี่ยวกับการใช้บริการทางสาธารณะ หรือ การชำระเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสาธารณะ เช่น บริการด้านสุขภาพ ประกันสังคม หรือ ภาษี เป็นต้น

7.Government to Government (G2G)

      เป็นการความสัมพันธ์ระหว่างสองรัฐบาล ในรูปแบบของการแบ่งปันข้อมูลทาง การสื่อสารข้อมูล การปรับปรุงข้อมูลและบูรณาการข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเพิ่มประสิทธิภาพใช้งาน การสื่อสารในส่วนต่าง ๆ และ ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เพื่อการให้บริการแก่ประชาชนที่ดียิ่งขึ้น

8. Government to Consumer (G2C)

      เป็นความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐบาล กับ พลเมืองหรือผู้บริโภค ทั้งในรูปแบบของการโต้ตอบผ่านการตอบสนองต่อข้อสงสัยของพลเมือง หรือ จะเป็นกิจกรรมทางออนไลน์ เช่น การเสียภาษี การให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ประชาชน การจดทะเบียนที่ดินหรือยานพาหนะ เป็นต้น

ความแตกต่างของ eCommerce กับ Marketplace ที่คุณควรรู้

time-is-money

1. เวลาและการเงิน

      อีคอมเมิร์ส เราสามารถเลือกได้ว่าจะสร้างเว็บไซต์ที่มีความยากง่ายตามความต้องการ สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ต้องใช้เวลาในการเลือก อีกทั้งยังต้องใช้เงินจำนวนมากในการดูแลและสร้างเว็บไซต์ ในทางกลับกัน Marketplace เป็น platform ที่ผู้ขาย (Vendors) และ ผู้ซื้อ (Customers) สามารถเข้ามาลงทะเบียนใช้งานระบบ ลงรายการสินค้า และขายสินค้า ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการคิดหรือออกแบบเว็บไซต์ ซึ่งใช้เวลาน้อยมากในการเริ่มต้นธุรกิจ อีกทั้งการลงทุนเริ่มต้นก็ไม่มากเท่ากับการจะทำ อีคอมเมิร์ส

profit

2. กำไรที่ได้จากการขาย และ ปริมาณสินค้า

      ใน Marketplace กำไรจากการขายในแต่ละครั้งจะมาจากค่า commission ที่หักจากการขายของ Vendor ซึ่งกำไรที่ได้จะต่ำกว่าการขายแบบ อีคอมเมิร์ส เนื่องจากกำไรของ อีคอมเมิร์ส ได้มาจากขายขายสินค้าของตนเองโดยตรงผ่านเว็บไซต์ของตนเอง ซึ่งหาก Vendor ใน Marketplace ต้องการกำไรในปริมาณมาก ก็จำเป็นต้องลงขายสินค้าในระบบในปริมาณมากเช่นกันจึงจะทำให้ได้กำไรเยอะ

promotion

3. การโปรโมทสินค้า

      การขายสินค้าใน Marketplace ผู้ขายจะสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจำนวนมากได้อย่างทันทีที่เริ่มเข้าไปขายสินค้าใน platform อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจ และ ได้รับการยอมรับจากผู้ซื้อได้อย่างรวดเร็ว แต่การขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ อีคอมเมิร์ส ผู้ขายจะต้องใช้เงินจำนวนมาก และ ระยะเวลา ในการโปรโมทสินค้า และ บริการของตนเอง

task-list

4. รายการสินค้า

      อีคอมเมิร์ส จำเป็นต้องเก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้าของตนเอง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ แสดงว่าผู้ขายจำเป็นต้องมีการเช่าพื้นที่เพื่อเก็บสินค้า ซึ่งการทำแบบนี้มีความเสี่ยงทางการเงินมาก เนื่องจากหากไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อเลย สินค้าอาจเสียหาย สูญหาย หรือ ถูกขโมย ความสี่ยงเหล่านี้ส่งผลเสียต่อธุรกิจและขาดทุนได้ ในส่วนของ Marketplace ที่เป็นเพียง platform ที่สร้างพื้นที่ไว้ให้สำหรับผู้ขายเข้ามาลงขายสินค้า เพื่อแสดงให้ผู้ซื้อเห็น คุณไม่จำเป็นต้องมีสินค้าคงคลัง และไม่ต้องรับความเสี่ยงด้านการเงินหากมีการเก็บตุนสินค้าไว้เองแล้วขายไม่ออก

W. P. P. ENGINEERING CO., LTD. : https://www.wppengineering.com/

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *