หน้าปกบทความSystem integrator ทำอะไรได้บ้าง

System integrator ทำอะไรได้บ้าง ?

      หน้าที่ของ System integrator จะมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละองค์กร ซึ่งจะรับผิดชอบในการเชื่อมโยงระบบย่อยต่างๆ ในองค์กรให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และ เป็นผู้รับรองการเชื่อมโยงระบบเหล่านั้นว่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้ ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงหน้าที่หลักบางประการของ ผู้ดูแลระบบร่วม

System integrator เก็บข้อมูลจากองค์กรเพื่อพัฒนาระบบ

1. System integrator เก็บข้อมูลจากองค์กรเพื่อพัฒนาระบบ

ก่อนเริ่มทำการพัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบร่วม จะต้องเข้าใจความต้องการ และวัตถุประสงค์ในแต่ละองค์กรก่อนว่าองค์กรนั้นๆ ต้องเปลี่ยนแปลงระบบให้เป็นแบบใดก่อนเริ่มพัฒนาระบบ ความสมบูรณ์ของระบบจะขึ้นอยู่กับหน้าที่ตรงส่วนนี้เป็นอย่างมาก หาก ผู้ดูแลระบบร่วม เข้าใจถึงข้อมูลได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้สามารถพัฒนาระบบได้ออกมาตรงความต้องการขององค์กรที่สุด

System integrator การออกแบบระบบ และ การนำระบบไปใช้

2. การออกแบบระบบ และ การนำระบบไปใช้

ผู้ดูแลระบบร่วม จะสร้างระบบโดยเริ่มจากการนำข้อมูลขององค์กรมาตรวจสอบ เพื่อเป็นแบบแผนในการสร้างระบบ และทำการพัฒนา ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีให้เข้ากับความต้องการขององค์กร ให้ระบบมีการทำงานที่สอดคล้องกัน อีกทั้ง ผู้ดูแลระบบร่วม จะต้องเป็นผู้ประเมินและรับรองความถูกต้องของการรวมระบบ ควบคู่ไปกับผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่น ๆ ในองค์กร เพื่อเป็นการยืนยันความเหมาะสมก่อนที่จะรวมเข้ากับระบบหลัก

การทดสอบระบบ การกำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ ในการทดสอบ

3. การทดสอบระบบ และ กำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ ในการทดสอบ

แม้ว่า ผู้ดูแลระบบร่วม ออกแบบระบบเสร็จแล้วและสามารถนำไปใช้ได้แล้ว แต่ ผู้ดูแลระบบร่วม ยังคงต้องทำการตรวจหาข้อผิดพลาด ทดสอบความเข้ากันของระบบอีกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าระบบไม่เกิดปัญหาใดๆ และเพื่อยืนยันความถูกต้องของระบบ ผู้ดูแลระบบร่วม สามาถสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อทดสอบระบบได้ ให้มีความครอบคลุมความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับระบบ หากเจอปัญหาจากสถานการณ์จำลองเหล่านั้นจะต้องมีการรายงานปัญหา จัดการและตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะแก้ไขปัญหานั้นได้

การแก้ไขปัญหา และ การได้รับความร่วมมือจากลูกค้า

4. การแก้ไขปัญหา และ การได้รับความร่วมมือจากลูกค้า

ระบบแต่ละระบบที่ทำออกมาให้แก่ลูกค้า ผู้ดูแลระบบร่วม จะต้องมีประสบการณ์และเข้าใจงานในด้านเทคนิคขั้นสูงต่างๆ เพื่อทำงานออกมาให้แก่ลูกค้า และจะต้องเป็นผู้เสนอ แนะนำ ตัวเลือกที่จะนำมาในการรวมระบบเพื่อให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้ามากที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นลูกค้าควรให้ความร่วมมือในการทำงานของ ผู้ดูแลระบบร่วม เช่นกันไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด เพื่อให้แน่ใจว่าในโซลูชันที่ ผู้ดูแลระบบร่วม เสนอไปเป็นไปตามความต้องการ และ ตรงตามมาตรฐานต่าง ๆ อีกทั้งควรให้ความร่วมมือในเรื่องการแก้ไขปัญหา การอัปเกรดระบบ และ การบำรุงรักษาระบบทั้วไป

การรักษาความปลอดภัยของระบบ

5. การรักษาความปลอดภัยของระบบ

ผู้ดูแลระบบร่วม จะต้องเป็นผู้ตรวจสอบ Server เพื่อให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากไวรัสหรือบัคต่าง ๆ ต้องทำการตรวจสอบการกำหนดค่า การตั้งค่าของ Server อีกทั้งยังเป็นผู้สั่งให้เริ่ม หรือ หยุดการทำงานของ Server ได้เพื่อความปลอดภัยขององค์กร รวมไปถึงการจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงานในองค์กรเพื่อเริ่มต้นใช้งานระบบ

การเป็น System integrator ทำได้อย่างไร ?

      การก้าวเข้ามาเป็น ผู้ดูแลระบบร่วม ได้นั้นสิ่งแรกที่จำเป็นเลยนั้นก็คือ วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาเป็นขั้นต้น โดยปกติจะเน้นไปสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการคอมพิวเตอร์หรือที่มีความเกี่ยวข้องกัน แต่อย่างไรก็ตามในการเริ่มต้นที่จะเป็น ผู้ดูแลระบบร่วม มืออาชีพ ไม่ได้มีเพียงแค่วุฒิการศึกษาเท่านั้น ยังมีคุณสมับติอื่นที่ใช้ในการเริ่มต้นเส้นทางอาชีพ ผู้ดูแลระบบร่วม อีกมาก โดยผู้เขียนขอหยิบยกคุณสมบัติบางข้อที่ใช้ในการพิจารณามาดังนี้

ต้องมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญ ในสาขาใดสาขาหนึ่ง

1. ต้องมีความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ ในสาขาใดสาขาหนึ่ง

การเป็น ผู้ดูแลระบบร่วม คุณจะต้องมั่นใจในสาขาที่คุณเลือกแล้วว่าคุณมีความเข้าใจมันมากที่สุด สามารถนำความรู้ตรงส่วนนั้นที่คุณมั่นใจไปแข็งขันกับผู้อื่นได้ เพื่อพัฒนาตนเองให้เชี่ยวชาญยิ่งขึ้นไปอีกในสาขาที่คุณเลือก

หางานในฐานะ System integrator ในตำแหน่งเริ่มต้น

2. หางานในฐานะ ผู้ดูแลระบบร่วม ในตำแหน่งเริ่มต้น

คุณสามารถเป็น ผู้ดูแลระบบร่วม ได้ตั้งแต่คุณสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยคุณจะต้องทำงานในตำแหน่งนี้ไปจนผ่านการรับรองอย่างแน่ชัดแล้วว่าคุณเป็น ผู้ดูแลระบบร่วม ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับบทบาท ผลงาน และหน้าที่ในการทำงานที่คุณกำลังทำอยู่ คุณจะต้องแสดงศักยภาพในการทำงานของคุณให้ออกมาเป็นผลลัพธ์ต่อองค์กรของคุณ

ก้าวเข้าสู่การเป็น System integrator

3. ก้าวเข้าสู่การเป็น ผู้ดูแลระบบร่วม

เมื่อคุณเริ่มต้นจากการเป็น ผู้ดูแลระบบร่วม ระดับ Junior การที่คุณจะสามารถเข้าสู่การเป็น ผู้ดูแลระบบร่วม ได้จำเป็นต้องได้รับประสบการณ์ทางด้านการศึกษาเพิ่มเติม ให้ระดับการศึกษาสูงขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง และ เพื่อรับรองความรู้ ความสามารถของคุณ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานานในการพัฒนาตนเองหลายปีเพื่อเข้าสู่การทำงานตำแหน่ง ผู้ดูแลระบบร่วม แต่ไม่ใช่ทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการศึกษาที่ต่อเนื่องของ ผู้ดูแลระบบร่วม ในบางองค์กร์การได้วุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น อาจช่วยเรื่องของตำแหน่งงานที่รายได้สูงขึ้น

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *